วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงการร้านอินเตอร์เน็ตสีขาว และเพื่อเยาวชนไทย
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับภาพรวมโดยส่วนใหญ่


1. เสนอให้รัฐเป็นผู้ออกแบบซอฟแวร์ควบคุมระบบการเข้าสู่ระบบระบบอินเตอร์เน็ต และเกมส์โดยให้ฝ่ายรัฐบาล เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบทั้งหมด ทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT, กระทรวงวัฒนธรรม และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ซอฟแวร์ดังกล่าว ผู้ให้บริการอินเตอร์ ISP จะต้องบรรจุเข้าไปอยู่ในระบบISPของผู้ให้บริการทุกราย เพื่อตัดปัญหาผู้ใช้บริการอยู่ทางบ้านหรือใช้บริการกับทางร้านอินเตอร์เน็ต

ซอฟแวร์ที่จะติดตั้งมีความสามารถดังนี้
- ผู้ใช้บริการทุกคนไม่ว่าเด็กเยาวชนหรือผู้ใหญ่ ก่อนใช้บริการจะต้องลงทะเบียนการเข้าใช้ โดยลงชื่อ และนามสกุล หรือหมายเลขบัตรประชาชน จริงเท่านั้น
- สามารถจัดเก็บ และทราบชื่ออายุของผู้ใช้บริการ
- กำหนดเวลาผู้ใช้บริการได้อย่างชัดเจน โดยที่เด็กหรือเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า18ปี จะกำหนดเวลาการเล่นเกมส์หรืออินเตอร์เน็ตได้ไม่เกินวันละ 3 ชม. สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุเกิน18ปี สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำกัดเวลา
หมายเหตุ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมระหว่างการใช้งาน โดยโพสกระทู้ รูปภาพหรือใช้ข้อความหมิ่นประมาท ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถที่จะเข้ามาดำเนินการได้ทันที อย่างน้อยเพื่อลดการขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและ
ศีลธรรม ขาดจริยธรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

2. ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
ว่า ด้วยแนวทางการปฏิบัติในการกำหนดเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตของนายทะเบียนหรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ ๒๕๔๙
ด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการ
เทป และวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๓๐ กำหนดให้ “ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่บันทึกหรือถ่ายทอดเกมการเล่นทุกชนิด” เป็น “เทปหรือวัสดุโทรทัศน์”ตามมาตรา ๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการจัดฉายให้บริการ ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ที่เป็นฮาร์ดดิสก์ดังกล่าว โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่า ธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและต้องขออนุญาตฉายหรือให้บริการเทปหรือ วัสดุโทรทัศน์ในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๐เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการกำหนดเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตของนาย ทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ (โดยเฉพาะ ข้อ ๗ ทั้งหมวดข้อ ก. และข้อ ข. )
ข้อ ๗ ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณีกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตแก่
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการร้านให้บริการเกมการเล่นใด ๆ ก็ตามที่บันทึกหรือถ่ายทอดด้วย
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) และอื่น ๆ ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
(ก) สถานที่ประกอบการร้านให้บริการ มีลักษณะ ดังนี้
(๑) เป็นอาคารมั่นคงถาวร หรือตั้งอยู่ในอาคารที่มั่นคงถาวร
(๒) ทำเลที่ตั้งปลอดภัยและสามารถมองเห็นจากด้านนอกบริเวณที่ให้บริการได้อย่าง ชัดเจน กรณีมีพื้นที่ให้บริการมากกว่า ๑ ชั้น ให้ติดตั้งกล้องวงจรปิดและต้องมีบันไดหนีไฟหรืออุปกรณ์ดับเพลิง
(๓) มีความเหมาะสมของแสงสว่างภายในร้าน เสียงรบกวนและควันต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้การดูแลที่มีมาตรฐาน
(๔) มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
(๕) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการหน้าจอต้องเป็นแบบรังสีน้อย หรือมีกระจกกรองรังสี ถ้ามีลำโพงให้ใช้ลำโพงที่สามารถควบคุมเสียง หรือมีหูฟัง
(๖) มีพื้นที่สำหรับผู้ขอใช้บริการเพียงพอ โดยขอบด้านซ้ายและด้านขวาของจอคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ตั้งหรือวางอยู่ฮะงกันไม่น้อยกว่า ๓๐ เซ็นติเมตร และมีทางเดินสะดวก
(๗) มีระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Circuit breaker) ที่ได้มาตรฐาน
(๘) มีห้องน้ำสำหรับให้บริการในสถานที่นั้นหรือบริเวณใกล้เคียง
(๙) ภายในสถานที่ให้บริการต้องสะอาด ไม่อับ และไม่มีกลิ่นรบกวน
(๑๐) มีป้ายแสดงประเภท และราคาค่าบริการ

(ข) เงื่อนไขการให้บริการและข้อห้าม ดังนี้
(๑) ให้บริการเฉพาะเกมที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม
(๒) ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เข้าใช้บริการในช่วงเวลาก่อน ๑๔.๐๐ น. ของวันจันทร์
ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ
(๓) ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ใช้บริการหลังเวลา ๒๒.๐๐ น. ของทุกวัน
(๔) ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี เล่นเกมคอมพิวเตอร์เกินกว่า ๓ ชั่วโมงต่อวัน
(๕) ห้ามจำหน่ายบุหรี่ สารเสพติดทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในสถานที่ให้บริการ
(๖) ห้ามสูบบุหรี่ สารเสพติดทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในสถานที่ให้บริการ
(๗) ห้ามให้เล่นการพนัน
(๘) ไม่มีสื่อลามกอนาจารใด ๆ ในสถานที่ให้บริการ
(๙) ดูแลมิให้มีการใช้บริการที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมาย เหตุ ในระหว่างวันหยุดราชการ หรือวันเสาร์และวันอาทิตย์ รวมทั้งในระหว่างช่วงที่นักเรียนหยุดเรียนปิดเทอมระหว่างภาคการศึกษา สามารถใช้บริการก่อน 14.00น ได้ และงดให้บริการหลัง 22.00 น.( เด็กหรือเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 1 8ปี )

3. เสนอให้มีเวลาปิดและเปิด เป็นเวลาที่แน่นอน และ ปฏิบัติเหมือนกันทั้งประเทศและทุกพื้นที่ โดยอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ห้ามยกเว้นปฏิบัติ

4. ให้งดการจ่ายเงินบำรุงท้องที่ (ส่วย) ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นพนักงานของรัฐ โดยให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด หากเกิดการจัดเก็บขึ้นให้สามารถร้องเรียนโดยตรงไปที่ ผบ.ตร. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

5. ให้รัฐบาลจัดโครงการนำร่องลิขสิทธิ์ Windows ในราคาถูก เพื่อลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา

6. ให้รัฐหรือองค์กรที่รับผิดชอบ เล็งเห็นถึงความสำคัญในกรณีมีกลุ่มบุคคล อ้างตัวเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ค่ายเพลง ออกตรวจจับลิขสิทธิ์เพลง MP3 เข้าตรวจค้นร้านเน็ตและเกมส์ โดยอ้าง ความผิดซึ้งหน้า โดยให้รัฐหรือองค์กรที่รับผิดชอบ กำหนดกฎระเบียบ ให้กับเจ้าของหรือตัวแทนของลิขสิทธิ์การเข้าตรวจค้น โดยขอให้กลุ่มคนดังกล่าว แสดงเอกสารหลักฐานการเป็นเจ้าของสิทธิ์ เช่น หนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัว (ของทุกคนที่เข้ามาในร้าน) และแสดงเอกสารสำคัญ คือ หมายศาล ที่ระบุวันเวลา สถานที่ ชื่อ-ที่อยู่ร้าน ให้ชัดเจน หากไม่มีมาสำแดง ผู้ประกอบการหรือเจ้าของร้าน มีสิทธิ์ มิให้ทำการใดๆ ในสถานประกอบการได้

7. อื่นๆ

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ขอความเป็นธรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 13 สิงหาคม 2551 เวลาประมาณ 16.00น ได้มีกลุ่มคนประมาณ 6-7 คนบุกเข้ามาในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ที่ผมเป็นคนดูแลอยู่ตอนนั้น ซึ่งเป็นร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ขนาดเล็กมีจำนวนเครื่อง แค่ 4-5 เครื่องเท่านั้น
กลุ่มคนเหล่านั้นได้อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาออกตรวจตามร้านอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารแต่ก็ไม่ได้แสดงบัตรประจำตัว หรือแสดงเอกสารใดๆทั้งสิ้น
หลังจากพูดจบแล้วก็เดินเข้าไปดูใบขออนุญาติและถ่ายกล้องวีดีโอพร้อมถ่ายภาพบริเวณในร้าน ต่างๆ

และทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และขอตรวจสอบไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องควบคุมและเครืองลูกต่างๆ ซึ่งมีลูกค้าของทางร้านใช้งานอยู่ ซึ่งทางร้านก็มั่นใจในความถูกต้องทุกอย่าง จึงไม่ได้ห้ามปรามหรือทักท้วงแต่อย่างใด แต่หลังจากที่เปิดเข้าค้นหาข้อมูลในเครื่องปรากฏว่า
มีไฟล์ลามกอนาจารในเครื่องเซิฟเวอร์ของทางร้าน ซึ่งกลุ่มคนพวกนั้นก็เปิดโปรแกรมไฟล์ลามกนั้นและใช้กล้องวีดีโอถ่ายไว้ทั้งหมด
และก็บอกว่าทางร้านได้มีไฟล์เพลง ลิขสิทธิ์ของบริษัทแกรมมี่ไว้เพื่อเผยแพร่ด้วย
ซึ่งทางร้านเองไม่ได้นำมาเก็บไว้เพื่อที่จะหาประโยชน์แต่อย่างใด ความเข้าใจของทางร้านคือ

มีลูกค้าซึ่งมาใช้งานโดยอาจใช้โทรศัพย์มือถือมาทำการโหลดไฟล์แล้วเก็บไว้ที่ตัวเครือง
โดยที่ทางร้านไม่ทราบมาก่อน
หลังจากที่แจ้งว่ามีไฟล์เพลงลิขสิทธิ์แล้ว กลุ่มคนดังกล่าวก็กระทำการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากร้านบอกว่าจะทำการตรวจยึดไว้เป็นหลักฐานและเชิญตัวเจ้าของร้านซึ่งเป็นภรรยาของผม
ไปที่สถานีตำรวจด้วย ซึ่งผมเป็นคนอาสาขอไปแทนเพื่อที่จะดำเนินการต่อไป

หลังจากที่ถึงสถานีตำรวจกลุ่มคนเหล่านั้นได้บอกว่า จะขอเจรจาเพื่อยอมความ

โดยที่ทางร้านจะต้องทำการชำระค่าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นค่ายอมความ ทั้งสิ้นเครื่องละ 40,000 บาท
เป็นจำนวน 4 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 200,000 บาท โดยที่จะไม่แจ้งความว่าทางร้านได้มีสื่อลามกไปด้วย ถ้าทางร้านยอมความ
กับกลุ่มคนเหล่านั้น แต่เนื่องจากทางร้านเพิ่งเปิดกิจการได้ไม่นานพร้อมกับจำนวนเครื่องที่ไม่มากนัก

จึงขอต่อรองลดค่ายอมความลงมาอีก โดยกลุ่มคนเหล่านั้นได้ตกลงว่าจะยอมความที่ เครื่องละ 5,000 บาท
เป็นจำนวน 4 เครื่อง ทั้งหมด 20,000 บาท ทางร้านจึงตอบตกลงยอมความ เพราะกลัวที่จะโดนยึดใบอนุญาติและไม่ได้เปิดกิจการต่อไปอีก หลังจากที่ตกลงกันแล้วทางร้านได้ทำการหยิบยืมหา เงินจำนวน 20,000 บาท มาให้
และทำการเซ็นในใบยอมความ ที่สถานีตำรวจอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น เวลา 20.00 น โดยประมาณ
โดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เซ็นร่วมในใบยินยอมความนี้เลยด้วยซ้ำ


โดยที่มีชื่อนาย สงกรานต์ ทนันท์ โดยบริษัท จีพาเทน จำกัดเป็น
ผู้รับเงินยอมความไป


ซึ่งในวันที่เกิดเหตุได้มีร้านอินเตอร์เน็ตโดนกระทำการดังกล่าวเป็นจำนวนหลายร้าน
ซึ่งต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนเงินหลายหมื่นบาทโดยที่ไม่ทราบถึงรายละเอียดความจริงความถูกต้อง
ไม่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลให้ความเป็นธรรมกับเรื่องที่เ้กิดขึ้นแต่อย่างใด


วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิเคราะห์ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ 2550

อาทิตย์ที่แล้ว มีเรื่องร้อนแรงหลักจาก ICT มีแผน ออก ประกาศ หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ 2550


คือ หลังจากที่ได้อ่านรายละเอียด และ ได้ฟังความเห็นจากหลาย ๆ ท่าน รวมทั้งได้เข้าประชุมกับสมาคม E-commerce เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เห็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงในรายละเอียดข้อมูลที่ให้เก็บของ ICT ที่กำหนด ในส่วนของ เว็บ และ E-commerce ผมแนบไฟล์หน้าที่เป็นประเด็น ไว้ในกระทู้นี้ด้วย ซึ่งหากว่าปล่อยให้มีการบังคับใช้ ตามนั้น จะมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อ คนเล่นเน็ต ทุก ๆ คน ไม่เพียงแค่เว็บเท่านั้น และ ยังดำเนินกิจกรรม ที่ฝืนกระแสโลก ไปจนถึงอาจจะมีผลถึงมุมมองของสากลโลก ที่มองกลับมายังประเทศเรา รวมทั้งข้อกังขา เรื่องเสรีภาพของบุคคล

ในส่วนของเว็บในหน้า 10

user posted image

และ ส่วนของ E -commerce ในหน้า 11

user posted image

" (2) บันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่แสดงการเข้าถึงของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการที่เข้าสู่เว็บไซท์ท่า ซึ่งระบุถึงตัวตนและสิทธิในการเข้าถึงเครือข่ายได้ และ/ หรือ ข้อมูล การใช้บริการเว็บไซด์ท่าประเภทต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น วัน เวลาในการเข้าใช้ระบบ(log in) และการออกจากระบบ (log off) หมายเลขที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรือไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IP Address) เป็นต้น

กรณีผู้ให้บริการเว็บบอร์ต ( Web Board) หรือ ผู้ให้บริการบล็อก (Blog) ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการหรือเอกสารอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมาย หรือรหัสประจำตัวผู้ใช้ เท่าที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ และ/หรือ เลขบัญชีธนาคารของผู้ใช้บริการ และ/หรือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการชำระเงิน (ถ้ามี) เช่น เลขบัญชีธนาคาร หรือ เลขบัตรเครดิต และ/ หรือข้อมูลที่สามารถแสดงถึงการซื้อขายสินค้า หรือบริการ

(3) กรณีผู้ให้บริการเว็บบอร์ต ( web board) หรือ ผู้ให้บริการบล็อก (Blog) ให้เก็บข้อมูลของผู้ที่ตั้งกระทู้ หรือ ประกาศปิดข้อความ (Post) บนเว็บไซท์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ "



ประเด็นที่อ่านแล้วเป็นปัญหามากที่สุดคือ ย่อหน้าที่ 2 ซึ่งระบุว่า " ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการหรือเอกสารอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมาย "

ซึ่งแม้ว่าผม จะเรียนด้านกฏหมายมาแต่ก็ยังเห็นว่า ระเบียบ ยังคงกำกวม และมุ่งจุดประสงค์ไปในแนวให้ผู้ให้บริการ มี " หน้าที่ " เก็บ ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชน ....... แล้วทีนี้ ถ้าเราเก็บ หรือ ไม่เก็บจะมีผลอย่างไร


สมมุติว่า ไม่เก็บ จะเกิดอะไรขึ้น ?????


อ้างถึงมาตรา 26 ใน พรบ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

" มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจําเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ งให้ผู้ ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร้ไว้เกินเก้าสิบวั นแต้ไม่เกินหนึ่งปี เป็นกรณีพิ เศษเฉพาะราย
และเฉพาะคราวก็ได้

ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่ จําเป็นเพื่อให้ สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ
นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท "


ถ้าไม่ทำ ก็คือ ผิดตาม พรบ ทันที โทษที่ ผู้ดูแลเว็บ เราต้องเจอคือ ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท


สมมุติว่า เก็บ จะเกิดอะไรขึ้น ?????

(ต่อจากเมื่อวาน)
ถ้าเกิดมีการบังคับให้ ทุกเว็บ เก็บ " คือ เว็บใดที่มี การให้แสดงความเห็นถือว่าเข้าข่าย ทั้งสิ้น " ง่าย ๆ คือ ทุกเว็บนั้นแหละต้องมี ชื่อ นามสกุล และเลขบัตรประจำตัวประชาชน ปัญหาที่ตามมาแบบ Basic คือ

1 ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 จะให้ทำอย่างไร ?

2 ชาวต่างชาติต้องทำอย่างไร ?

3 เว็บทั้งประเทศ ต้องเป็นระบบ Member ทั้งหมดในการแสดงความเห็น

4 ข้อมูลนะเก็บได้ แต่ ความถูกต้องของข้อมูล จริงหรือไม่ ? ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะนำไปสู่

4.1 รายชื่อ Fake และ เลขประจำตัว Fake มากมายก่ายกอง ที่ไม่สามารถ Clean ได้ ( ปัจจุบันก็มีอยู่แล้ว )

4.2 คนเล่นเว็บบอร์ตแสดงความเห็น จะมุดลงใต้ดิน และ ออกไปสร้างกลุ่ม webboard ในต่างประเทศ ซึ่งจะไม่สามารถตรวจสอบได้และควบคุมยากยิ่งกว่าเดิมหลายเท่าตัว

4.3 ง่ายต่อการกลั่นแกล้งกัน ยกตัวอย่างเช่น

นาย A ทำงานอยู่บริษัทเดียวกับ นาย B , A เกลียดขี้หน้า B อย่างมาก จึงไปสมัครเว็บบอร์ตที่คุยเรื่องการเมืองแห่งนึงโดยใช้ชื่อ B และใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนไว้ด้วย ซึ่งก็หาได้ไม่ยากเย็นนัก ถ้าจะหาจริง ๆ จากนั้น A ก็ login เป็นชื่อ นาย B เข้าไปโพส ด่า รัฐบาล อย่างไร้เหตุผลทุกวัน

จากตัวอย่างข้างต้น ในเบื้องต้น ข้อมูลที่ปรากฏคือ ชื่อ นาม สกุล , เลขบัตรประชาชน และ IP Address ของบริษัท ต่างชี้มาที่ นาย B โดยพร้อมเพียงกัน การมุ่งมองว่า ให้ " ให้เก็บข้อมูลของผู้ประกาศ (Post) ข้อมูล ชื่อ สกุล รหัสประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการหรือเอกสารอื่นที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฏหมาย " ย่อมง่ายต่อการให้บุคคล ๆ หนึ่งเป็นเป้าหมายในการโดนเพ่งเล็งว่าเป็นผู้กระทำผิด ในขณะที่ข้อมูล ไม่สามารถ พิสูจน์ ความเป็นตัวตนแท้จริง ของผู้กระทำผิดได้

4.4 ผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะไม่เปิดเผยตัว มีความเสี่ยงมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ , กลุ่มผู้มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ถ้าต้องการแสดงความเห็นหรือ สอบถามจากเว็บเฉพาะกลุ่ม ย่อมไม่อยากจะแสดงตัวออกมา การบังคับให้ กรอก ชื่อ นามสกุล เลขบัตร ประชาชน ย่อมเสี่ยงที่จะเป็นเปิดเผยข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ ผู้ใช้บริการได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงในภายหลังได้ง่าย


การที่บางเว็บไซด์ เช่น oknation.net หรือ pantip.com เก็บข้อมูลพวก เลขบัตรประชาชน มักมีวัตถุประสงค์เพื่อกรองจำนวนผุ้ใช้งานที่แท้จริง ซึ่ง เป็นคนละวัตถุประสงค์ กับตามกฏหมาย ที่ประสงค์ให้เก็บเป็น " หลักฐาน " ผู้ใช้งานที่ไม่พอใจ ย่อมไปเลือกใช้งานเว็บไซด์อื่น ๆ ได้ หากแต่ว่าถ้ามี กฏหมายบังคับ ให้ทุก ๆ เว็บไซด์นั้น ทำตามนี้ คนที่มีข้อจำกัดในการแสดงตัว ก็จะไหล ออกไปใช้เว็บไซด์ ในต่างประเทศแทน ซึ่ง จะเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าในการ ติดตามในกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้น

ตาม ความเห็นส่วนตัว การเก็บหรือไม่เก็บ ไม่สามารถพิสูจน์การใช้งานทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะขาดขั้นตอน การยืนยันตัวบุคคลที่ถูกต้องแท้จริงไป หากว่าเราคิดจะแก้ปัญหา จริง ๆ แล้ว การให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล physical ในระดับเว็บจะเป็นการยืนยันที่ดีกว่า เช่น ข้อมูล IP ภายใน และภายนอก ในการเข้าใช้งาน , เวลาที่เข้าใช้งาน เป็นต้น

โดยรวมผมสนับสนุน กฏหมาย พรบ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งถูกออกแบบไว้อย่างเป็นกลาง ทีเดียว ไว้ใช้บังคับผู้กระทำผิดจริง ๆ หากแต่ในประกาศ เพิ่มเติม ตามเนื้อหา ที่ได้เห็น ทำให้เห็นวัตถุประสงค์ ทางการเมือง แอบแฝง ซึ่งหากว่า ไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก ประชาชน ผู้จะต้องถูกบังคับใช้ก่อน ก็ไม่น่าจะเป็นธรรมกับผู้ถูกบังคับใช้เท่าไหร่




โดย ผึ้งนรก

ศูนย์เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ 90 วัน

24 ส.ค.นี้ เริ่มบังคับใช้การเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง หลังพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกาศใช้ปีที่แล้ว

หมายความว่า หน่วยงานภาครัฐ เอก ชน สถาบันการศึกษา และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ต้องเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต 90 วัน หากไม่จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log File) ถือว่ามีความผิดปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และถ้าเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบข้อมูลแล้วผู้ให้บริการไม่มีข้อมูลจะถูกปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ดร.อโณทัย ศรีกิจจา ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ช่วยให้สืบหาตัวผู้กระทำผิดได้ และยังช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ และภัยคุกคามที่เป็นความเสี่ยงกับข้อมูล ซึ่ง กสท ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการ Security Operations Center (SOC) ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท

สำหรับศูนย์ปฏิบัติการ SOC เปิดขึ้นมาเพื่อให้บริการด้าน Managed Security Service (MSS) หรือ การให้บริการด้านบริหารจัดการความปลอดภัย ซึ่งมีโซลูชั่น “บริการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ Secure Log Management Service” รองรับการให้บริการสำหรับหน่วยงานที่ต้องจัดเก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ต 90 วัน

นอกจากนี้ ศูนย์ SOC ยังเชื่อมโยงข้อมูลภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตกับ 4 ศูนย์ที่ดูและเรื่องภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งตั้งอยู่ในอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ และญี่ปุ่น แบบเรียลไทม์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์สถานการณ์ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต พร้อมอัพเดท เหตุการณ์บุกรุกข้อมูลทั่วโลกแบบรายวันและรายเดือน มีเจ้าหน้าที่ดูแล 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน
เมื่อพบภัยคุกคามที่รุนแรง เช่น แฮกเกอร์โจมตีข้อมูลจะแจ้งเตือนภายใน 15 นาที แต่ถ้าเป็นภัยที่ไม่รุนแรงจะแจ้งเตือนภายใน 30 นาที

เบื้องต้นคิดค่าบริการสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในระบบเครือข่าย เช่น Web Server, Database Server, Application Server, Mail Server, Firewall และ Router ต่อการเชื่อมอุปกรณ์กับการจัดเก็บข้อมูลในอัตราค่าบริการเดือนละ 2,000 บาท/อุปกรณ์

ปัจจุบันมีลูกค้าองค์กรใหญ่ ๆ 5 ราย ลูกค้าเอสเอ็มอี 50 ราย โดยลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่จะต่อเชื่อมอุปกรณ์ประมาณ 50 อุปกรณ์/บริษัท ส่วนลูกค้าเอสเอ็มอีจะต่อเชื่อมอุปกรณ์ประมาณ 5-10 อุปกรณ์/ บริษัท ถ้าเทียบค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนจัดทำการจัดเก็บข้อมูลเอง การเช่าใช้บริการคุ้มกว่ามาก โดยศูนย์ SOC รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ประมาณ 2 พันอุปกรณ์ ซึ่งปัจจุบันใช้งานเชื่อมต่อไม่ถึง 5% ของความสามารถที่รองรับได้ ตั้งเป้ารายได้ปีนี้อยู่ที่ 298 ล้านบาท

และจากการที่กระทรวงไอซีทีได้สำรวจความพร้อมในการจัดเก็บข้อมูล 90 วัน ของหน่วยงานภาครัฐ ผ่านแบบสอบถามซึ่งตอบกลับมา 170 หน่วยงาน พบว่า 53% หรือ 80 กว่าหน่วยงานไม่พร้อมจัดเก็บข้อมูล 90 วัน

ดังนั้น กสท จึงมีแนวคิดที่จะยกระดับศูนย์ SOC ให้เป็น ศูนย์ SOC แห่งชาติ โดยให้กระทรวงไอซีทีกำกับดูแล และให้ กสท เป็นผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้หน่วยงานรัฐที่ไม่มีความพร้อมในการลงทุนด้านไอทีมาใช้บริการ ส่วนหน่วยงานรัฐที่มีความพร้อมก็สามารถลงทุนดำเนินงานเองได้ โดยจะยกร่างโครงการเสนอไปยังไอซีทีในเร็ว ๆ นี้

ต่อไปนี้จะโพสต์ข้อความว่าใครทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือก็ระวังให้ดี เพราะศูนย์ SOC ตรวจสอบได้.

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สำคัญมาก ประกาศถึงเจ้าของผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่

ขณะนี้ในจังหวัดขอนแก่นมีแก๊งโจรชั้วออกหากิน

กับร้านอินเตอร์เน็ตโดย


เป็นตัวแทนบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ค่ายเพลงใหญ ออกมาตรวจลิขสิทธิ์

กับร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ขนาดเล็ก ถึงปานกลาง

โดยตอนนี้มีร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่เดือดร้อนเป็นกันมาก

ตั้งแต่ หมู่บ้าน หลังม.ข. บ้านคำไฮ บ้านดอน บ้านโนนชัย ซึ่งตอนนี้ทราบเพียงเท่านี้

โดยที่จะมาตรวจจับ สื่อลามก และ เพลง .mp3 ในร้านอินเตอร์เน็ตที่ใช้ให้บริการ

โดยและข่มขู่ให้ จ่ายเงิน 50000 บาท ซึ่งบุคลที่ชื่อ สงกรานต์ ผู้อ้างสิทธิ์เป็นตัวแทน

จะมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่ามาจากส่วนกลางด้วยเช่นกัน โดยเงินส่วนนี้

จะเป็นเงินให้เรายอมความกับ นายสงกรานต์ ซึ่งแล้วแต่นายสงกรานต์จะเรียกร้องบังคับ

ให้เรายอมความให้ไม่งั้น จะส่งเรื่องขึ้นศาล โดยข่มขู่ว่า จะต้องเสียค่าประกันเป็นแสน

และยึดของกลางไป







แต่เหตุการที่จะเกิดขึ้นนี้ จะมีหน้าม้าหรือคนแปลกหน้าเข้ามาใช้บริการ ที่ร้าน

และจะอัพโหลดไฟล์ เพลงและคลิป วีดีโอ ลงในเครื่อง (.wmv และ .mp3) ซึ่่งร้านไหนมีระบบ

ล็อคดาวโหลด ก็จะส่งทางเอ็มเอสเอ็นเข้ามา และซ้อนไว้ในเครื่อข่ายระบบร้าน


ซึ่งจะมีคนหรือหน้าม้า เข้ามาชี้แหล่งร้านซึ่งผมก็ทราบว่า เป็นคนในพื้นที่รับจ้างมา

เดือนละ 6000 บาทต่อคนโดยทำงานกันเป็นทีม พร้อมตำรวจ

ซึ่งตำรวจที่รับแจ้งด้วยก็รู้เห็น


และแบ่งผลประโยนช์กันที่หลังจาก เสร็จจากการยอมความกัน โดยวันหนึ่งสามารถทำรายได้

หลายแสนบาทโดยเข้าไปจับกุมร้านอินเตอร์เน็ตได้หลา่ยร้าน โดยจะจับช่วงเย็นๆ

เพื่อให้เหยื่อร้อนรนกลัวจะถูกจับต้องหาทางประกันตัวออกไปแต่ ทางด้านนาย สงกรานต์

จะพยายามกล่อมให้เหยื่อยอมเสียค่าโง่ ประมาณ 20000 - 30000 บาทเพื่อเรื่องจะได้จบ!!